สภาพแวดล้อมทางการเรียน (Learning Environment)

สภาพแวดล้อมทางการเรียน (Learning Environment) 

รูปภาพ

สภาพแวดล้อมทางการเรียน (Learning Environment) 
หมายถึง สภาวะใดๆ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สภาพแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม (
Concrete Environmental) หรือสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ได้แก่ สภาพต่างๆ ที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น อาคาร สถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ วัสดุ อุปกรณ์ หรือสื่อต่างๆ รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ตาม ธรรมชาติ อันได้แก่ ต้นไม้ พืช ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
ในสังคมสารสนเทศ สภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดเพียงในห้องเรียน หากแต่เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ นวัตกรรมเทคโนโลยีจะมีบทบาทในการขยายขอบเขตของสภาพการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น และไม่จำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่ Margaret Riel เสนอรูปแบบแนวคิดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่พึงมี 4 องค์ประกอบ คือ
  1. การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered Approach)
หมายถึง ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระฉับกระเฉงและเน้นเนื้อหาที่ผู้เรียนสนใจ เป้าหมายของการเรียนการสอนยุคใหม่คือ การให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง และมีความสามารถที่จะสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ ภารกิจที่สำคัญของผู้สอนคือ การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้สอนจะเน้นบทบาทในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน รูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้ ได้แก่ การเรียนแบบร่วมมือระหว่างผู้เรียนกันเอง การเรียนการสอนแบบร่วมมือระหว่างผู้เรียน และผู้สอน การเรียนแบบโครงการ การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหา เป็นต้น
         2. ความรู้เป็นศูนย์กลาง (Knowledge-centered approach)
ความสามารถในการคิด การคิดอย่างใคร่ครวญ และการแก้ปัญหาจะแข็งแกร่งก็ด้วยการเข้าถึงความคิด สมมติฐาน ความคิดรวบยอด ที่ผู้รู้ต่างๆ ได้จัดไว้อย่างมีความหมาย การเรียนที่มีความรู้เป็นศูนย์กลางนี้ จะเน้นบทบาทที่สำคัญของผู้สอนในการจัดรายวิชาการเรียนรู้ให้ผู้เรียน และสร้างสภาพการเรียนรู้ที่สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย มิได้จำกัดตำราเพียงเล่มเดียว ยิ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งความรู้ แหล่งสารสนเทศได้มากเท่าใด ยิ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้ว่าแหล่งความรู้นั้นมีอยู่มากมาย การจะได้ความรู้มาได้นั้นอยู่ที่ตัวเขาเอง สารสนเทศในยุคนี้มีการเก็บในรูปแบบที่หลากหลาย และที่สำคัญคือในรูปอิเล็กทรอนิคส์รูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้สืบค้นและเข้าถึงได้ง่ายนวัตกรรมเทคโนโลยีนี้มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในการเรียนรู้
         3. ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (Community-centered approach) 
สิ่งนี้เป็นมิติที่วิกฤติอย่างหนึ่งของสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ชุมชนของผู้เรียนมีความแตกต่างอย่างเด่นชัดกับห้องเรียนของผู้เรียน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ คือ กลุ่มคนที่มีลักษณะดังนี้
(1)  มีความสนใจร่วมในหัวเรื่อง งาน หรือปัญหา
(2)  เคารพต่อความหลากหลายของแนวคิด
(3)  มีระดับของทักษะและความสามารถ
(4)  มีโอกาสและความมุ่งมั่นที่จะทำงานเป็นหมู่คณะ
(5)  มีเครื่องมือที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
(6)  ผลผลิตทางความรู้เป็นเสมือนเป้าหมายหรือผลผลิตร่วมของชุมชนของผู้รู้
ชุมชนของผู้เรียนเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญในสังคมสารสนเทศเพราะนวัตกรรมเทคโนโลยีสามารถเชื่อมโยงชุมชนของ ผู้เรียนจากต่างสถาบัน ต่างภาค ต่างประเทศ ให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชุมชนแห่งปราชญ์ (Community of scholars) ในสาขาวิชาชีพนั้น ไม่ว่าจะผ่านทาง ListServ, Web-board ไปจนถึงเทคโนโลยีระดับสูงอื่นๆ ประสบการณ์ใหม่ที่ได้จากมิติของสภาพแวดล้อมใหม่ในการเรียนรู้นี้
จะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีประสิทธิภาพ
         4. การประเมินผลเป็นศูนย์กลาง (Assessment-centered approach) 
การรู้ว่าผู้เรียนกำลังเรียนอะไรอยู่ และอะไรคือสิ่งที่เขากำลังเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญในการดัดแปลงสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ การประเมินต้องเป็นการนำไปสู่การพัฒนาที่ดีกว่า มากกว่าการตัดสินว่าผู้เรียนเรียนรู้หรือไม่ การประเมินผลในสภาพจริง เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมใหม่ เป็นการประเมินกระบวนการ การประเมินผลของการปฏิบัติงาน มากกว่าการวัดเพียงความรู้ความจำ เครื่องมือของการประเมินจึงออกมาในรูปของการประเมินเชิงมิติ (Rubrics) ที่มีการวางเกณฑ์ต่างๆ ที่ชัดเจน การประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนการสร้างแผนที่มโนมติ (Concept-map) ที่แสดงออกของการเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายเหล่านี้ เป็นต้น 

ที่มา : https://sites.google.com/site/winaik103/263-601/new-learning-environment

บทบาท หน้าที่ และคุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษา

1.บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา

      เดล (Dale 1946 : 485-486)ได้กล่าวถึงบทบาทของงานบริหารของนักเทคโนโลยีการศึกษา
ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา ไว้ดังนี้

1.1 ศึกษาการขยายตัวของงานบริการโดยวิเคราะห์ความต้องการต่างๆ ของผู้ใช้และประเมินผล
1.2 ทำรายงานการคาดการณ์ต่างๆ เสนอต่อหัวหน้าหน่วยงานที่สูงขึ้นไป
1.3 จัดทำคู่มือการนิเทศ แคตตาล็อกและวิธีการใช้โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ กับบทเรียน
1.4 จัดวางกฎ ระเบียบ ในการยืม รับคืน แจกจ่ายหมุนเวียนโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ
1.5 จัดเตรียมการจัดนิทรรศการ
1.6 เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์โสตทัศนูปกรณ์กับชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์ ห้องแสดงงานศิลป์ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
1.7 เสนอข่าวสารใหม่ๆ แก่คณาจารย์ เช่น วัสดุใหม่ๆ เครื่องมือใหม่ๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในวงการศึกษา

          ส่วนบทบาทในฐานะบุคลกรประจำศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา ชัยยงค์ (2523 : 40)ได้กล่าวไว้ว่า บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษาจะอยู่ที่การช่วยกำหนดระบบ การวางแผนการผลิตและการใช้สื่อการสอน และพิจารณาคุณภาพของเนื้อหาและประสบการณ์ ที่จะถ่ายทอดไปให้แก่ผู้เรียน เพื่อที่จะให้ผู้เรียนรับความรู้ได้มากที่สุด

          นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษาควรจะเป็นผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับการ นำเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม มาใช้ในโรงเรียน หน่วยงานและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคิดในเชิงระบบ เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และเป็นผู้มีจิตใจที่พร้อมจะเป็นผู้ให้บริการ

2.หน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษา

      2.1 หน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะนักวางแผน ออกแบบและพัฒนาระบบการสอน  ซึ่งจะเป็น การวิเคราะห์หลักสูตร ให้ครอบคลุมและตรงตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอน เป็นต้น

     2.2 หน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา ซึ่ง อีริคสัน (Erickson,1959 : 8) ได้กล่าวถึงนักเทคโนโลยีการศึกษาที่ทำหน้าที่ด้านบริหาร ต้องมีหน้าที่ด้านต่างๆ ดังนี้

2.2.1 ให้คำแนะนำ กำหนดนโยบายการบริหารงาน
2.2.2 วางแผนโครงการระยะยาวเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือและวัสดุโสตทัศนูปกรณ์ให้แก่ศูนย์ฯ
เพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
2.2.3 วางมาตรการในการใช้โสตทัศนูปกรณ์
2.2.4 ดำเนินการอบรมครู และเป็นที่ปรึกษาแก่ครูผู้สอน
2.2.5 เตรียมประชุมปรึกษา เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาร่วมกับศึกษานิเทศก์
2.2.6 จัดทำงบประมาณและจัดหาเงินทุน
2.2.7 จัดสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคาร
2.2.8 วางมาตรการหรือกรรมวิธีในการเลือกซื้อโสตทัศนูปกรณ์
2.2.9 จัดหาบุคลากรของศูนย์เทคโนฯ
2.2.10 กำหนดเนื้อที่ภายในศูนย์

2.3 หน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะบุคลากรประจำศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา

ด้านบริการ

1. บริการการใช้เครื่องมือ เช่น บริการฉายภาพยนตร์ ฉายสไลด์ ถ่าย VDO บริการเครื่องเสียง เป็นต้น
2. บริการด้านการผลิตสื่อการสอน และการเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์
3. บริการด้านบำรุงรักษา ซ่อมแซม เครื่องมือต่างๆ
4. จัดฝึกอบรมให้ความรู้ในด้านต่างๆ
5. ให้บริการด้านความรู้ ความชำนาญ เฉพาะอย่าง เช่น วิธีการผลิตสื่อการสอนชนิดต่างๆ

ด้านการใช้วิธีระบบ ได้แก่การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน การให้คำปรึกษาแก่ครูผู้สอน เป็นต้น

ด้านการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ครูเห็นความสำคัญของการใช้สื่อการสอน และประชาสัมพันธ์ด้านอื่นๆ

3.คุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษา

     นิสิตปริญญาโทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2524 : 87-88)  ได้สรุปคุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษา ที่พึงประสงค์ของหน่วยงานดังนี้

     1. ด้านบุคลิกภาพของนักเทคโนโลยีการศึกษา

1.1 ควรมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และยินดีที่จะรับงานด้านบริการ
1.2 มีความคิดสร้างสรรค์
1.3 มีความอดทน มีอุดมการณ์ที่แน่นอน ไม่ย่อท้อ
1.4 ต้องเป็นคนทันสมัย ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
1.5 รู้จักปรับปรุง และนำความรู้มาประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ที่เหมาะสม
1.6 มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้
1.7 รู้จักรับผิดชอบต่องานที่ปฏิบัติ
1.8 รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นคนใจกว้าง
1.9 รู้จักประชาสัมพันธ์งานด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้กว้างขวางในหน่วยงาน
1.10 เพศชายเหมาะกับงานนอกสถานที่มากกว่าเพศหญิง

     2. ด้านความรู้

ระดับปริญญาตรี
1 มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีการศึกษาทั้งหมด
2 สามารถผลิตสื่อ
3 สามารถควบคุมเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์

ระดับปริญญาโท
1 มีความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษาทั้งหมด
2 สามารถผลิตสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆได้
3 สามารถออกแบบสื่อการสอนได้ดี
4 รู้จักวางแผนและวางระบบในการทำงาน
5 รู้จักแก้ไขปัญหาให้กับหน่วยงานนั้นๆ ได้
6 มีความรู้ในด้านการวางแผนจัดบุคลากร
7 มีความรู้ สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษาด้านเทคโนโลยีให้กับบุคลากรในหน่วยงานและบุคคลภายนอกได้
8 เน้นความรู้ทางด้านงานบริการมากกว่างานทางด้านทักษะ 

สรุป

          บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา จากที่กล่าวมาทั้งหมด มิใช่สูตรสำเร็จของการเป็นนักเทคโนโลยีการ ศึกษาที่พึงประสงค์เท่านั้น การแสวงหาความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ก็ย่อมมีความจำเป็นเช่นกันบทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษาคงจะไม่จำกัดเฉพาะในโรงเรียนหรือสถานศึกษาเท่านั้น การพัฒนาการศึกษาในองค์รวมระดับชาติ จำเป็นต้องมีนักการศึกษาที่หลากหลายสาขาวิชา เพื่อร่วมกันขับเคลื่อน จึงจะทำให้การศึกษาของชาติประสบผลสำเร็จ นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงควรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้

“บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา คงจะไม่ใช่ผู้อยู่เบื้องหลังเท่านั้น”

เอกสารอ้างอิง

          เอกสารการสัมมนาทางการศึกษา เรื่อง เทคโนโลยีการศึกษากับการปฏิรูปการศึกษา จัดโดย
นิสิตปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา รุ่นที่
13 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโวฒ ประสานมิตร


ที่มา: http://www.edtechno.com/1/index.php?option=com_content&task=view&id=26&Itemid=33

วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ  

     หมายถึง การทำในใจโดยแยบคาย การคิดพิจารณาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนและลึกซึ้ง หรือการคิดที่ถูกวิธี มีระเบียบ มีเหตุผล และสร้างสรรค์ มี 10 วิธี ดังนี้                 

1.วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัยคือ คิดแบบมีเหตุผล เช่นพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยใช้วิธีการคิดแบบสืบสาวหาเหตุจากปัจจัย พระองค์ตั้งคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับเวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุขทุกข์ โดยทรงพิจารณาว่าเวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์นี้เกิดขึ้นโดยมีอะไรเป็นปัจจัย แล้วพระองค์ก็สืบสาวไปก็ทรงค้นพบว่า มีผัสสะ เป็นต้น

2.วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบคือ การคิดจำแนกแยกแยะองค์รวมของสิ่งต่างๆ ออกเป็นองค์ย่อยๆ ทำให้มองเห็นความและความสมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยเหล่านั้นว่ามีความเกี่ยว กับเนื่องกัน เป็นเหตุเป็นผลและพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร จึงประสานสอดคล้องกันเป็นองค์รวม วิธีคิดแบบนี้จะทำให้เรารู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง

3.วิธีแบบสามัญลักษณะคือ คิดแบบไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ชีวิตของคนเราก็เป็นเช่นนี้เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้ ทุกขังมีแต่ความทุกข์อนัตตาไม่มีตัวตนที่แน่นอน

4.วิธีคิดแบบอริยสัจหรือ วิธีคิดแบบแก้ปัญหา คือ การพิจารณาปัญหามีอะไรบ้าง (ทุกข์) สาเหตุอยู่ที่ใด (สมุทัย) แนวทางและเป้าหมายของการแก้ปัญหาที่ตั้งไว้ (นิโรธ) พิจารณาวีการ ดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย (มรรค) ซึ่งเราสามารถใช้เป็นหลักยึดในการพิจารณาถึงความเป็นจริงและนำไปสู่การคิด ตามกระบวนการนี้

5.วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์คือ คิดตามหลักการและความมุ่งหมาย เป็นการคิดแบบสุตบุรุษ หรือ
สัปปุริสธรรม อันเป็นคุณสมบัติของคนดี คือ รู้จักเหตุ รู้จักผลรู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักบุคคล รู้จักชุมชน  

6.วิธีคิดแบบเห็นคุณ – โทษและทางออกคือ มองในเชิงคุณค่าว่าสิ่งนั้นๆ มีคุณในแง่ไหน มีโทษในแง่ไหน มองทั้งคุณและโทษ แล้วก็หาทางออกที่จะแก้ไข

7.คิดแบบคุณค่าแท้ – คุณค่าเทียมคือ รู้จักแยกแยะสิ่งดีชั่วได้อย่างมีเหตุผล                

8.วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรมคือ คิดแบบปลุกเร้าคุณธรรมหรือชุดความดี หมายถึง การบำเพ็ญความดี ซึ่งจะต้องกระทำให้ถึงที่สุด

9.วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันคือ คิดอยู่ในปัจจุบัน แนวนี้ต้องบมีวิปัสสนากรรฐานเป็นเครื่องมือ

10.วิธีคิดแบบวิภัชชวาท (แบบจำแนก)คือ คิดแบบรอบด้าน แยกแยะ มองสิ่งต่างๆ ในหลายๆ มุมอย่างละเอียดรอบคอบ

การคิดทั้ง 10 ข้อที่กล่าวมาสรุปได้สั้นๆ 4 ข้อ คือ

1. คิดเป็นระเบียบ

2. คิดถูกวิธี

3. คิดเป็นเหตุเป็นผล

4. คิดให้เกิดการกระทำที่เป็นกุศล

ที่มา: https://sites.google.com/site/krutantae/withi-khid-baeb-yoniso-mnsikar

โสตทัศนศึกษา, นวัตกรรมการศึกษา และเทคโนโลยีการศึกษา

โสตทัศนศึกษา, นวัตกรรมการศึกษา และเทคโนโลยีการศึกษา

โสตทัศนศึกษา, นวัตกรรมการศึกษา และเทคโนโลยีการศึกษา