วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ  

     หมายถึง การทำในใจโดยแยบคาย การคิดพิจารณาอย่างละเอียด ถี่ถ้วนและลึกซึ้ง หรือการคิดที่ถูกวิธี มีระเบียบ มีเหตุผล และสร้างสรรค์ มี 10 วิธี ดังนี้                 

1.วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัยคือ คิดแบบมีเหตุผล เช่นพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยใช้วิธีการคิดแบบสืบสาวหาเหตุจากปัจจัย พระองค์ตั้งคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับเวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุขทุกข์ โดยทรงพิจารณาว่าเวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์นี้เกิดขึ้นโดยมีอะไรเป็นปัจจัย แล้วพระองค์ก็สืบสาวไปก็ทรงค้นพบว่า มีผัสสะ เป็นต้น

2.วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบคือ การคิดจำแนกแยกแยะองค์รวมของสิ่งต่างๆ ออกเป็นองค์ย่อยๆ ทำให้มองเห็นความและความสมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยเหล่านั้นว่ามีความเกี่ยว กับเนื่องกัน เป็นเหตุเป็นผลและพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร จึงประสานสอดคล้องกันเป็นองค์รวม วิธีคิดแบบนี้จะทำให้เรารู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง

3.วิธีแบบสามัญลักษณะคือ คิดแบบไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ชีวิตของคนเราก็เป็นเช่นนี้เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้ ทุกขังมีแต่ความทุกข์อนัตตาไม่มีตัวตนที่แน่นอน

4.วิธีคิดแบบอริยสัจหรือ วิธีคิดแบบแก้ปัญหา คือ การพิจารณาปัญหามีอะไรบ้าง (ทุกข์) สาเหตุอยู่ที่ใด (สมุทัย) แนวทางและเป้าหมายของการแก้ปัญหาที่ตั้งไว้ (นิโรธ) พิจารณาวีการ ดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย (มรรค) ซึ่งเราสามารถใช้เป็นหลักยึดในการพิจารณาถึงความเป็นจริงและนำไปสู่การคิด ตามกระบวนการนี้

5.วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์คือ คิดตามหลักการและความมุ่งหมาย เป็นการคิดแบบสุตบุรุษ หรือ
สัปปุริสธรรม อันเป็นคุณสมบัติของคนดี คือ รู้จักเหตุ รู้จักผลรู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักบุคคล รู้จักชุมชน  

6.วิธีคิดแบบเห็นคุณ – โทษและทางออกคือ มองในเชิงคุณค่าว่าสิ่งนั้นๆ มีคุณในแง่ไหน มีโทษในแง่ไหน มองทั้งคุณและโทษ แล้วก็หาทางออกที่จะแก้ไข

7.คิดแบบคุณค่าแท้ – คุณค่าเทียมคือ รู้จักแยกแยะสิ่งดีชั่วได้อย่างมีเหตุผล                

8.วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรมคือ คิดแบบปลุกเร้าคุณธรรมหรือชุดความดี หมายถึง การบำเพ็ญความดี ซึ่งจะต้องกระทำให้ถึงที่สุด

9.วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันคือ คิดอยู่ในปัจจุบัน แนวนี้ต้องบมีวิปัสสนากรรฐานเป็นเครื่องมือ

10.วิธีคิดแบบวิภัชชวาท (แบบจำแนก)คือ คิดแบบรอบด้าน แยกแยะ มองสิ่งต่างๆ ในหลายๆ มุมอย่างละเอียดรอบคอบ

การคิดทั้ง 10 ข้อที่กล่าวมาสรุปได้สั้นๆ 4 ข้อ คือ

1. คิดเป็นระเบียบ

2. คิดถูกวิธี

3. คิดเป็นเหตุเป็นผล

4. คิดให้เกิดการกระทำที่เป็นกุศล

ที่มา: https://sites.google.com/site/krutantae/withi-khid-baeb-yoniso-mnsikar

5 responses to “วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

  1. โยนิโสมนสิการ เป็นการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี ใช้ความคิดของตนเองให้เป็นอิสระ เป็นการฝึกใช้ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระบบ รู้จักคิดวิเคราะห์

  2. การสอนของครู น่าจะเป็นการจัดสภาพแวดล้อม สร้างแรงจูงใจให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และฝึกฝนวิธีการคิดใช้ความคิด(ตาม10ข้อข้างบน) นำไปสู่การปฏิบัติจนเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตัวเอง

      • งั้น..ถ้าเรานำ ทฤษฎีการเรียนแบบ constructivism มารวมกับหลักโยนิโสมนัสสิการ คือให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง จากประสบการณ์ที่ได้รับ โดยฝึกฝนให้รู้จักคิดพิจารณา ควบคู่กันไป ความรู้ที่ได้รับจะถูกกลั่นกรองออกมาก็จะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนตัวผู้เรียนจะได้พัฒนาทั้งด้านความคิดและการปฏิบัติ

      • เห็นด้วยค่ะ…คิดว่าทฤษฎีการเรียนแบบ constructivism เมื่อนำมาใช้รวมกับหลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการแล้ว น่าจะเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นผู้เรียนให้รู้จักคิดพิจารณา อย่างมีเหตุผล มีความสามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ รู้จักต่อยอดได้ค่ะ

ใส่ความเห็น