แนวคิด Bloom’s Digital Taxonomy

แนวคิด Bloom’s Digital Taxonomy

รูปภาพ

เชิร์ชส์ (Churches, A.2008 : 2) ปริเขตความรู้ของบลูมที่ถูกปรับปรุงขึ้นใหม่นี้  หรือเรียกว่าทฤษฎี Bloom’s Revised Taxonomy ได้อธิบายถึงพฤติกรรมใหม่ การกระทำและโอกาสที่อุบัติขึ้นมาพร้อมกับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ซึ่ง Bloom’s Revised Taxonomy ได้อธิบายถึงการปฏิบัติ พฤติกรรม และการกระทำแบบห้องเรียนสำหรับดั้งเดิม แต่ไม่ได้อธิบายถึงกระบวนการและการกระทำใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับสื่อสังคมออนไลน์หรือเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ที่นับวันจะยิ่งแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น

อีกทั้ง อนุกรมภิธาน (Taxonomy) แบบดั้งเดิมและแบบปรับปรุงใหม่โดย Anderson และ Krathwohl ทั้งสองแบบนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะปริเขตความรู้ความคิด (Cognitive Domain) หรือด้านพุทธิพิสัย ซึ่งถือว่ามีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติในชั้นเรียน แต่ไม่ได้กล่าวถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ควรดำเนินการในชั้นเรียน ดังนั้น อนุกรมภิธานดิจิทัล (Digital Taxonomy) จึงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ปริเขตความรู้ความคิด (Cognitive Domain) หรือด้านพุทธิพิสัยเท่านั้น และมากไปกว่านั้น อนุกรมภิธานดิจิทัล (Digital Taxonomy) ยังได้บรรจุองค์ประกอบด้านความรู้ความคิดหรือองค์ประกอบด้านพุทธิพิสัย (Cognitive elements) วิธีการและการใช้เครื่องมือลงไปด้วย ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชั้นเรียนได้ อย่างไรก็ตาม ในทฤษฎีของบลูมมีระดับความรู้ความคิดต่างๆ ที่แสดงกระบวนการเรียนรู้ แต่ไม่ได้ชี้ชัดว่าผู้เรียนจะต้องเริ่มต้นเรียนรู้ที่ระดับต่ำสุดขึ้นไป กล่าวได้ว่าการเรียนรู้สามารถเริ่มต้นที่จุดใดก่อนก็ได้ แต่โดยธรรมชาติของการเรียนรู้จะเริ่มต้นที่ระดับต่ำกว่าก่อน นอกจากนี้ระดับความรู้ความคิดต่างๆ ในกระบวนการเรียนรู้ก็ได้รับผลกระทบจากการทำงานร่วมกัน (Collaboration) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ซึ่งสิ่งที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกได้นั่นก็คือสื่อดิจิทัล และทำให้เกิดห้องเรียนดิจิทัลเพิ่มขึ้น

เชิร์ชส์ จึงได้สรุปแผนผังความคิดBloom’s Digital Taxonomy ไว้ดังนี้

รูปภาพ